My Job and My hobby fevorite

environment, movie, song, game, serie, series for download, ISO, EU Directive, PFOS, Green Procurement,technology, mobile phone, animal, human, health

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

กฏระเบียบ PFOS

วันที่ 25 มิถุนายนต์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสได้ไปฟังการสัมมนาและอบรมเรื่องระเบียบ PFOS ที่ MTEC จัดขึ้น
ซึ่งระเบียบนี้ก็เป็นระเบียบอันนึงที่ทาง EU ออกมาบังคับใช้กับประเทศสมาชิก อืมว่าแล้วก็ขอสรุปเนื้อหาที่ได้ฟังมา
โดยสรุปแล้วกันน่ะ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
PFOS หรือ Perfluorooctane Sulfonate ก็คือกลุ่มสาร Perfluorocarbon หรือ PFC ชนิดหนึ่ง ซึ่งไอ้เจ้าสารกลุ่มนี้ก็คือสารที่ทำลายชั้นโอโซนนั่นเอง สารกลุ่ม PFOS เนี่ยจะจัดอยู่ในกลุ่มสารพวก Fluorinated Surfactant ด้วย ซึ่งเจ้า
สารกลุ่มนี้จะมีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำ ไม่ชอบไขมัน และมีความเสถียรสูง ในแง่การใช้งานจึงนิยมนำมาฉีดพ่นพื้นผิววัสดุ
เพื่อใช้กันน้ำ ฝุ่น และไขมัน ใช้ในงานที่ต้องทนอุณหภูมิและสารเคมี เอ้า กล่าวโดยสรุปก็คือเจ้าสารกลุ่ม PFOS
ก็คือสารในกลุ่ม Surfactant ที่มีฟลูออรีนเป็นส่วนประกอบ ถ้าอยากจำให้ง่ายก็คือสารกลุ่มที่มีคาร์บอน 8 ตัวขึ้นไปและ
มีฟลูออรีนเป็นองค์ประกอบนั่นเอง ส่วนสูตรโมเลกุลก็ C8F17SO2X (X =OH, เกลือโลหะ, เฮไลด์ , เอไมด์ etc.)
สำหรับวัตถุประสงค์ในการใช้ PFOS ก็เหมือนที่บอกข้างต้นนั่นแหละ แต่เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นจะขอยกตัวอย่างการ
ใช้งานให้มันชัดเจนมากขึ้นตามคุณสมบัติดังนี้

ไม่ชอบน้ำ ไม่ชอบไขมัน ------------ ป้องกันสิ่งสกปรก ไขมัน น้ำ รอยเปื้อน ลบรอยด่างดำ ทำความสะอาด เคลือบ กันเปียกชิ้น
ไม่ทำปฏิกิริยากับแสง---------------ใช้ในงานถ่ายภาพ ซึ่งจะใช้ในกระบวนการ Photoresist
โมเลกุลขนาดเล็ก-----------------ช่วยทำให้ละอองมีขนาดเล็ก (ใช้ในสเปรย์, ใช้ในหมึกสำหรับงานพิมพ์ละเอียด)
ปรับปฏิกิริยาบนพื้นผิว ลดแรงตึงผิว ปรับ wetting ซึ่งช่วยให้เปียกได้อย่างทั่วถึงใช้ใน
งานผิวเคลือบสี รวมถึงทำให้ของเหลวซึมผ่านวัสดุได้ดี จึงนิยมนำมาใช้ในงานย้อมผ้า PFOS ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำ DI/Rinsing จึงนิยมนำมาใช้ในงานล้าง IC และ ใช้ในงานชุบผิวเพื่อลดการเกิดฟองอากาศในงานชุบโลหะ
ทนทุกสภาวะ มีความเสถียรสูง--------ใช้เป็นชั้นกั้นไอกรดในบ่อชุบโลหะโครม 6 ใช้ผสมในน้ำมันอากาศยาน รวมถึงใช้เฉื่อยต่อ
ปฏิกิริยาเคมีในการป้องกันการกัดกร่อน ใช้ลดการก่อประจุไฟฟ้า
อ้าวพูดถึงวัตถุประสงค์ การใช้งานเบื้องต้นไปแล้ว คราวนี้ก็มาทราบพิษภัยของมันกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
PFOS ถือว่าเป็นสาร PBT ชนิดหนึ่ง นั่นแน่อยากทราบสิว่าเจ้าสาร PBT คืออะไร OK เฉลยเลยแล้วกัน
PBT = Persistent Bio accumulate Toxic ก็คือว่ามันเป็นสารพิษที่สามารถสะสมได้ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมันจะไม่สลายตัวได้เองตามธรรมชาติ ทนต่อกรด และอุณหภูมิ และมันยังสามารถสะสมได้ในสิ่วงมีชิวิรตอีกด้วย รวมถึงเมื่อสะสมในสิ่งมีชิวิตก็จะทำให้เกิดเนื้องอก รวมถึงมะเร็งได้ นี่แหละคือพิษภัยของมันจ้า อ้อลืมบอกไปสารในกลุ่ม PFOS ตาม OECD List ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 165 รายการจ้า มีอะไรก็ลองเข้าไปดูได้ในเวปไซด์ http://www.thairohs.org น่ะ
ส่วนระเบียบ PFOS ที่ทาง EU ออกมานี้ก็มีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. 08 ที่ผ่านมาจ้าคลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

กฏระเบียบ ELV

สหภาพยุโรปมีขยะจากยานยนต์ที่หมดอายุปีละกว่า 9 ล้านตัน ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องต้องมีมาตรการแก้ไขโดยเร่งด่วน กว่า 90% ของชิ้นส่วน/วัสดุในขยะยานยนต์ที่ถูกนำมาทิ้งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ อย่างไรก็ดี การจะนำวัสดุกลับคืนจากขยะในสัดส่วนที่สูงระดับนี้ได้โดยไม่ก่อภาระให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคมจำเป็นต้องมีมาตรการทางบริหารมากระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีในทิศทางที่เหมาะส ม และกำหนดที่เอื้อต่อการบริหารจัดการซากอย่างคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเมื่อ 18 กันยายน 2544 EU ได้ออกระเบียบ End of Life Vehicles หรือ ELV ออกมาเพื่อลดของเสียจากยานยนต์ โดยบังคับให้มีการบำบัดซากยานยนต์อย่างถูกวิธี และให้นำชิ้นส่วนกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ตามสัดส่วนที่กำหนด เพื่อพัฒนาสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมในทุกธุรกิจในวัฏจักรชิวิตของยานยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บำบัดซากยานยนต์
ระเบียบ ELV ใช้หลักการผู้ผลิตต้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยภาพรวมแล้วระเบียบ ELV ส่งผลต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ 3 เรื่อง ดังนี้
1) ค่าใช้จ่ายในการจัดการซาก
2) เป้าหมายการรีไซเคิล
3) การห้ามใช้โลหะหนัก 4 ชนิด ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และ โครเมียมเฮกซะวาเลนซ์
ระเบียบ ELV ครอบคลุมเฉพาะรถยนต์ใหม่และรถที่หมดอายุซึ่งรวมถึงชิ้นส่วนและวัสดุที่ใช้ในรถที่ถูกควบคุม
ได้แก่
- รถในพิกัด M1 : รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 4 ล้อขึ้นไปแต่ไม่เกิน 8 ที่นั่ง ไม่รวมที่นั่งคนขับ
- รถในพิกัด N1 : รถยนต์ตั้งแต่ 4 ล้อขึ้นไป ใช้บรรทุกสัมภาระที่มีน้ำหนักไม่เกิน 3.5 ตัน
- รถยนต์สามล้อม ไม่รวมรถจักรยานยนต์สามล้อ
- รถที่ใช้ในกิจพิเศษ จะไม่ควบคุมในเรื่องการรีไซเคิล
ข้อกำหนดหลักของระเบียบนี้ได้แก่ การป้องกันการก่อของเสีย การเบคืนซากยานยนต์ การบำบัดซากยานยนต์เป้าหมายการใช้ซ้ำและการดึงทรัพยากรกลับ การทำเครื่องหมายและสัญลักษณ์บนชิ้นส่วน และการให้ข้อมูลและการรายงาน
ขีดจำกัดของสารอันตรายที่ยอรับได้ เป็นดังนี้ ตะกั่ว โครเมียมเฮกซะวาเลนท์ (Cr+6) และปรอทปนเปื้อนได้ไม่เกิน 0.1% (1,000 ppm) โดยน้ำหนักวัสดุเดียวกัน และแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.01 %(100 ppm) โดยน้ำหนักวัสดุเดียวกัน
เนื้อหาบางส่วนได้มาจาก www.thairohs.org