My Job and My hobby fevorite

environment, movie, song, game, serie, series for download, ISO, EU Directive, PFOS, Green Procurement,technology, mobile phone, animal, human, health

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

บ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)

บ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 รูปแบบ คือ บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) และหากมีบ่อหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายจะทำหน้าที่เป็นบ่อบ่ม (Maturation Pond) เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม บ่อปรับเสถียรสามารถบำบัดน้ำเสียจากชุมชน หรือโรงงานบางประเภท เช่น โรงงานผลิตอาหาร โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น และเป็นระบบที่มีค่าก่อสร้างและค่าดูแลรักษาต่ำ วิธีการเดินระบบไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ควบคุมระบบไม่ต้องมีความรู้สูง แต่ต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างมากจึงเป็นระบบที่เหมาะกับชุมชนที่มีพื้นที่เพียงพอและราคาไม่แพง ซึ่งโดยปกติระบบบ่อปรับเสถียรจะมีการต่อกันแบบอนุกรมอย่างน้อย 3 บ่อ

บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond)
บ่อแอนแอโรบิคเป็นระบบที่ใช้กำจัดสารอินทรีย์ที่มีความเข้มข้นสูงโดยไม่ต้องการออกซิเจน บ่อนี้จะถูกออกแบบให้มีอัตรารับสารอินทรีย์สูงมาก จนสาหร่ายและการเติมออกซิเจนที่ผิวหน้าไม่สามารถผลิตและป้อนออกซิเจนได้ทัน ทำให้เกิดสภาพไร้ออกซิเจนละลายน้ำภายในบ่อ จึงเหมาะกับน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์และปริมาณของแข็งสูง เนื่องจากของแข็งจะตกลงสู่ก้นบ่อและถูกย่อยสลายแบบแอนแอโรบิค น้ำเสียส่วนที่ผ่านการบำบัดจากบ่อนี้จะระบายต่อไปยังบ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) เพื่อบำบัดต่อไป
การทำงานของบ่อแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับสมดุลระหว่างแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกรดและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน ดังนั้นอุณหภูมิของบ่อควรมากกว่า 15 องศาเซลเซียส และค่าพีเอช (pH) มากกว่า 6
บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond)
บ่อแฟคคัลเททีฟเป็นบ่อที่นิยมใช้กันมากที่สุด ภายในบ่อมีลักษณะการทำงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนบนของบ่อเป็นแบบแอโรบิค ได้รับออกซิเจนจากการถ่ายเทอากาศที่บริเวณผิวน้ำและจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย และส่วนล่างของบ่ออยู่ในสภาพแอนแอโรบิค บ่อแฟคัลเททีฟนี้โดยปกติแล้วจะรับน้ำเสียจากที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นมาก่อน
กระบวนการบำบัดที่เกิดขึ้นในบ่อแฟคคัลเททีฟ เรียกว่า การทำความสะอาดตัวเอง (Self-Purification) สารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ประเภทที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เพื่อเป็นอาหารและสำหรับการสร้างเซลล์ใหม่และเป็นพลังงาน โดยใช้ออกซิเจนที่ได้จากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายที่อยู่ในบ่อส่วนบน สำหรับบ่อส่วนล่างจนถึงก้นบ่อซึ่งแสงแดดส่องไม่ถึง จะมีปริมาณออกซิเจนต่ำ จนเกิดสภาวะไร้ออกซิเจน (Anaerobic Condition) และมีจุลินทรีย์ประเภทไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์และแปรสภาพเป็นก๊าซเช่นเดียวกับบ่อแอนแอโรบิค แต่ก๊าซที่ลอยขึ้นมาจะถูกออกซิไดซ์โดยออกซิเจนที่อยู่ช่วงบนของบ่อทำให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็น
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากปริมาณสารอินทรีย์ที่เข้าระบบสูงเกินไป จนออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ เมื่อถึงเวลากลางคืนสาหร่ายจะหายใจเอาออกซิเจนและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ลดต่ำลง และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่ำลงจนอาจเกิดสภาวะขาดออกซิเจน และเกิดปัญหากลิ่นเหม็นขึ้นได้
บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond)
บ่อแอโรบิคเป็นบ่อที่มีแบคทีเรียและสาหร่ายแขวนลอยอยู่ เป็นบ่อที่มีความลึกไม่มากนักเพื่อให้ออกซิเจนกระจายทั่วทั้งบ่อและมีสภาพเป็นแอโรบิคตลอดความลึก โดยอาศัยออกซิเจนจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย และการเติมอากาศที่ผิวหน้า และยังสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ส่วนหนึ่งโดยอาศัยแสงแดดอีกด้วย
บ่อบ่ม (Maturation Pond)
บ่อบ่มมีสภาพเป็นแอโรบิคตลอดทั้งบ่อ จึงมีความลึกไม่มากและแสงแดดส่องถึงก้นบ่อใช้รองรับน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว เพื่อฟอกน้ำทิ้งให้มีคุณภาพน้ำดีขึ้น และอาศัยแสงแดดทำลายเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม

ระบบบ่อปรับเสถียรที่นิยมใช้กันจะประกอบด้วยหน่วยบำบัด ดังนี้
1. บ่อแอนแอโรบิค (ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่น้ำเสียมีค่าความเข้มข้นของสารอินทรีย์สูง ๆ เช่น น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม)
2. บ่อแฟคคัลเททีฟ
3. บ่อแอโรบิค และ
4. บ่อบ่ม โดยต่อกันแบบอนุกรม

ตัวอย่างเกณฑ์การออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond)
หน่วยบำบัด เกณฑ์การออกแบบ (Design Criteria)
พารามิเตอร์ ค่าที่ใช้ออกแบบ
1. บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Hydraulic Retention Time; HRT) 4.5 วัน
ความลึกของน้ำในบ่อ 2-4 เมตร
อัตราภาระบีโอดี 224-672 กรัมบีโอดี5 /ตรม.-วัน*
ประสิทธิภาพการกำจัด BOD ร้อยละ 50
2. บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Hydraulic Retention Time; HRT) 7-30 วัน
ความลึกของน้ำในบ่อ 1-1.5 เมตร
อัตราภาระบีโอดี 34 กรัมบีโอดี5 /ตรม.-วัน*
- ประสิทธิภาพการกำจัด BOD ร้อยละ 70-90
3. บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Hydraulic Retention Time; HRT) 4 -6 วัน
ความลึกของน้ำในบ่อ 0.2-0.6 เมตร
อัตราภาระบีโอดี 45 กรัมบีโอดี 5/ตรม.-วัน*
ประสิทธิภาพการกำจัด BOD ร้อยละ 80-95
4. บ่อบ่ม (Maturation Pond) ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Hydraulic Retention Time; HRT) 5-20 วัน
ความลึกของน้ำในบ่อ 1-1.5 เมตร
อัตราภาระบีโอดี 2 กรัม/ตร.ม.-วัน
ประสิทธิภาพการกำจัด BOD ร้อยละ 60-80

ที่มา : รวบรวมจากหนังสือ "ค่ากำหนดการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย", สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย 2540 และ "Wastewater Engineering", Metcalf&Eddy 1991
ข้อดี
ระบบบ่อปรับเสถียรสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียจากชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น โรงงานผลิตอาหาร หรือน้ำเสียจากเกษตรกรรม เช่น น้ำเสียจากการเลี้ยงสุกร เป็นต้น การเดินระบบก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ดูแลรักษาง่าย ทนทานต่อการเพิ่มอย่างกระทันหัน (Shock Load) ของอัตรารับสารอินทรีย์ และอัตราการไหลได้ดี เนื่องจากมีระยะเวลาเก็บกักนาน และยังสามารถกำจัดจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้มากกว่าวิธีการบำบัดแบบอื่น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีระบบฆ่าเชื้อโรค
ข้อเสีย
ระบบบ่อปรับเสถียรต้องการพื้นที่ในการก่อสร้างมาก ในกรณีที่ใช้บ่อแอนแอโรบิคอาจเกิดกลิ่นเหม็นได้ หากการออกแบบหรือควบคุมไม่ดีพอ นอกจากนี้น้ำทิ้งอาจมีปัญหาสาหร่ายปะปนอยู่มาก โดยเฉพาะจากบ่อแอโรบิค
ตัวอย่างระบบบ่อปรับเสถียรที่ใช้ในประเทศไทย
แหล่งชุมชนระดับเทศบาลหลายแห่งใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร อาทิเช่น
- เทศบาลนครหาดใหญ่
ขนาดของระบบสามารถรองรับน้ำเสียได้ 138,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างประมาณ 2,040 ไร่ (รวมพื้นที่บ่อปรับเสถียรและบึงประดิษฐ์)
- เทศบาลเมืองพิจิตร
ขนาดของระบบสามารถรองรับน้ำเสียได้ 60,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน ใช้พื้นที่ในการก่อสร้าง 285 ไร่ - เทศบาลเมืองอ่างทอง ขนาดของระบบสามารถรองรับน้ำเสียได้ 1,650 ลูกบาศก์เมตร/วัน ใช้พื้นที่ ในการก่อสร้าง 40 ไร่

รูปแบบผังระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) ของเทศบาลนครปฐม
From : www.pcd.go.th

อากาศ

ส่วนประกอบของอากาศ
บรรยากาศ หมายถึง อากาศทั้งหมดที่อยู่รอบตัวเราและห่อหุ้มโลกเราไว้ โดยอยู่ในช่วง 800 - 960 กิโลเมตรจากผิวโลก ประกอบด้วย อากาศ ฝุ่น ละออง เขม่า ควันไฟ เชื้อโรค
บรรยากาศมีความสำคัญดังต่อไปนี้
1. ให้ก๊าซออกซิเจนแก่พืชและสัตว์เพื่อใช้ในกระบวนการหายใจ และให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แก่พืชใน กระบวนการสังเคราะห์แสง
2. ช่วยให้มีวัฏจักรของน้ำในธรรมชาติ เช่น เกิดเมฆ ฝน หมอก น้ำค้าง
3. ป้องกันอันตรายจากอุกกาบาต
4. ทำให้เกิดการลุกไหม้
5. ป้องกันอันตรายจากรังสี เช่น ดูดกลืนรังสีอัลทราไวโอเล็ต
6. ทำให้เกิดการเน่าเปื่อยของพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว
7. ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เย็นหรือร้อนเกินไป ถ้าไม่บรรยากาศในเวลากลางวันอากาศจะมีอุณหภูมิ 110 C° งึถำ่ตะจิมูภหณุอนืคงาลกาลวเ 081 - C°
สมบัติของอากาศ
อากาศเป็นสสาร จึงมีมวลต้องการที่อยู่ มวลของอากาศจะเท่ากับผลรวมของมวลของก๊าวต่างๆ ในอากาศ และมวลของอนุภาคที่แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมกัน มวลของอากาศสามารถเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ในช่วงวันหนึ่งๆ ขึ้นกับองค์ประกอบของอากาศ
สมบัติของอากาศที่สำคัญได้แก่
1. ความหนาแน่นของอากาศ[D]
ความหนาแน่นของอากาศ เป็นอัตราส่วนระหว่างมวลกับปริมาตรของอากาศ เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ดังนี้
กำหนดให้ M = มวลของอากาศ มีหน่วยเป็น กรัม, กิโลกรัม
V = ปริมาตร มีหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร, ลูกบาศก์เซนติเมตร
D = ความหนาแน่นของอากาศ มีหน่วยเป็น กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
D = m/V
ความหนาแน่นของอากาศแปรผกผันกับความสูงจากระดับน้ำทะเล คือ ถ้าความสูงจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของอากาศมีค่าลดลง ซึ่งแสดงว่า บริเวณสูงๆ ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล อากาศจะอยุ่เจือจางลง
2. ความดันอากาศ [P]
อากาศมีแรงดันทุกทิศทุกทาง (แรงดัน หมายถึง แรงทั้งหมดที่กดลงบนพื้นที่ใดๆ
ความดันอากาศหรือความดันบรรยากาศ คือ ค่าของแรงดันอากาศต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับแรงดันนั้น
ในการพยากรณ์อากาศเรียก ความดันอากาศ หรือ ความดันบรรยากาศว่า ความกดอากาศ
ความดันอากาศหาจาก อัตราส่วนระหว่าง แรงดันอากาศ (F: นิวตัน) กับ พื้นที่ (A; ตารางเมตร)
P = F/A
ความสัมพันธ์ระหว่างความดันของอากาศ กับ ความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นดังนี้
• ที่ความสูงระดับเดียวกัน อากาศจะมีความดันอากาศเท่ากัน หลักการนี้นำไปใช้ทำเครื่องมือตรวจวัดแนวระดับในการก่อสร้าง
• เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น ความดันและความหนาแน่นของอากาศมีค่าลดลง หลักการนี้นำไปสร้างเครื่องมือวัดความสูง ซึ่งเรียกว่า แอลติมิเตอร์
“ทุกๆ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 11 เมตร ระดับปรอทจะลดลงจากเดิม 1 มิลลิเมตรปรอท และทุกๆ ความลึกจากระดับน้ำทะเล 11 เมตรระดับปรอทจะเพิ่มขึ้น 1 มิลลิเมตร”
• จากการศึกษาอากาศสามารถดันน้ำให้อยู่ในท่อพลาสติกปลายปิดที่ระดับน้ำทะเล ประมาณ 10 เมตร
• ความดันของอากาศที่ระดับน้ำทะเล เรียกว่า มีความดัน 1 บรรยากาศ
• ความดัน 1 บรรยากาศคือความดันที่อากาศดันให้ระดับน้ำขึ้นสูงจากน้ำทะเลได้ประมาณ 10 เมตร
• แต่ถ้าใช้ปรอทแทนน้ำ อากาศจะดันปรอทให้สูง 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร ที่ระดับน้ำทะเล
• หน่วยวัดความดันอาจจะเป็นบาร์ หรือมิลลิบาร์
• กรมอุตุนิยมวิทยากำหนดหน่วยวัดความดันเป็นมิลลิบาร์ โดย 1 บาร์ = 1000 มิลลิบาร์ และ 1013.5 มิลลิบาร์ = 1 บรรยากาศ = 760 มิลลิเมตรของปรอท = 1.01 X 105 N/m2
• การวัดความดันอากาศมี 2 แบบคือ 1. วัดเป็นความสูงของน้ำ 2. วัดเป็นความสูงของปรอท
• เครื่องมือวัดความดันมีหลายชนิด ได้แก่
ก. บารอมิเตอร์ปรอทแบบง่าย สร้างโดยอาศัยหลักการที่อากาศสามารถดันของเหลวให้เข้าไปในหลอดแก้วได้
ข. แอนิรอยด์บารอมิเตอร์ เป็นตลับโลหะที่สูบอากาศออกเกือบหมด เมื่อความดันเปลี่ยน จะอ่านค่าความดันได้ที่หน้าปัด
ค. แอลติมิเตอร์ ดัดแปลงมาจากแอนิรอยด์บารอมิเตอร์ อ่านค่าความสูง ใช้สำหรับบนเครื่องบินและติดตัวนักกระโดดร่ม เพื่อบอกความสูง สร้างขึ้นโดยใช้หลักการเมื่อความสูงเพิ่มความดันอากาศจะลดลง
ง. บารอกราฟ เป็นเครื่องมือบอกความดันอากาศแบบแอนิรอยด์บารอมิเตอร์ แต่จะรายงานผลในรูปกราฟ
3. อุณหภูมิของอากาศ
ชั้น ลักษณะ
1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) บรรยากาศในช่วงระดับความสูง 0 - 10 km
อุณหภูมิจะค่อยลดลงตามระดับความสูงโดยเฉลี่ยลดลงประมาณ 6.5 °C อ่ต 1 mk
มีความสำคัญต่อมนุษย์ด้านความเป็นอยู่เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีไอน้ำ เมฆ ฝน หมอก และพายุ
2. สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) บรรยากาศชั้นนี้อยู่ในระดับความสูง 10 - 50 km
อุณหภูมิจะคงที่ที่ความสูง 10 - 20 km และที่ความสูง 35 - 50 km จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเฉลี่ย 0.5 °C อ่ต 1 mk
เป็นชั้นที่ไม่มีเมฆ พายุ มีความชื้น และผงฝุ่นเล็กน้อย แต่มีความเข้มของก๊าซโอโซนมาก
3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) บรรยากาศในช่วยระดับความสูง 50 - 80 km
อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง
4. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) บรรยากาศในช่วงระดับความสูง 80 - 500 km
อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 80 - 100 km จากนั้นอัตราการสูงของอุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลง โดยทั่วไปอุณหภูมิจะอยู่ในช่วง 227 -1,727 °C
เป็นชั้นที่มีประจุไฟฟ้าที่เรียกว่า ไอออน ซึ่งสามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางคลื่นได้
การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติของก๊าซเป็นเกณฑ์
1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) ความสูง 0 - 10 km ไอน้ำ
2. โอโซโนสเฟียร์ (Ozonosphere) ความสูง 10 - 55 km โอโซน
3. ไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) ความสูง 80 - 600 km อากาศแตกตัวเป็นไอออน
4. เอกโซสเฟียร์ (Exosphere) ความสูง 600 ขึ้นไป ความหนาแน่นของอะตอมน้อยลง
4. ความชื้น
• ความชื้นของอากาศ หมายถึง ปริมาณไอน้ำที่ปะปนอยู่ในอากาศ ซึ่งได้มาจากการระเหยของแหล่งน้ำต่างๆ
• อากาศอิ่มตัว คือ อากาศที่มีไอน้ำอยู่ในปริมาณเต็มที่ และรับไอน้ำจากที่อื่นไม่ได้อีกแล้ว
• อากาศที่มีอุณหภูมิสูงจะรับไอน้ำได้มากกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ
• เราสามารถวัดความชื้นได้ 2 แบบ คือ (1) ความชื้นสัมบูรณ์ (2) ความชื้นสัมพัทธ์
• ความชื้นสัมบูรณ์ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำในอากาศกับปริมาตรของอากาศนั้น
• หน่วยวัดความชื้นสัมบูรณ์เป็น กรัมต่อลูกบาศก์เมตร
• ความชื้นสัมพัทธ์ หมายถึง ปริมาณเปรียบเทียบระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นกับมวลของไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน นิยมคิดเป็นร้อยละ
• สูตร ความชื้นสัมบูรณ์ = มวลของไอน้ำในอากาศ
ปริมาตรของอากาศ
• สูตร ความชื้นสัมพัทธ์ = ความชื้นสัมบูรณ์ x 100
มวลของไอน้ำในอากาศอิ่มตัว
• ความชื้นสัมพัทธ์ = มวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้น x 100
มวลของไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน
• ความชื้นสัมพัทธ์ที่พอเหมาะ กำลังสบายคือ 60 %
• เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์ เรียกว่า ไฮกรอมิเตอร์ มีอยู่หลายชนิด ซึ่งเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ได้แก่
ก. ไฮกรอมิเตอร์แบบเส้นผม แต่ถ้าเครื่องมือชนิดนี้แสดงความชื้นสัมพัทธ์บนกระดาษกราฟ เรียกว่า ไฮกรอกราฟ
ข. ไฮกรอมิเตอร์แบบกระเปาะเปียก - กระเปาะแห้ง หรือ ไซโครมิเตอร์ ประกอบด้วยเทอร์มอมิเตอร์ 2 อัน โดยอันหนึ่งเป็นกระเปาะเปียก อีกอันเป็นกระเปาะแห้ง นำผลต่างของอุณหภูมิมาหาค่าความชื้นสัมพัทธ์
มนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
สาเหตุของการเกิดมลภาวะของอากาศ เกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือ
1. สาเหตุทางธรรมชาติ เช่น การเกิดภูเขาไฟระเบิด การเกิดไฟป่า
2. สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ก๊าซและฝุ่นละอองที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจจะเป็นการปรุงอาหาร การใช้ยานพาหนะ การตัดไม้ทำลายป่า
กลุ่มสารปนเปื้อนในอากาศ
1. กลุ่มออกไซด์ของคาร์บอน
2. กลุ่มออกไซด์ของไนโตรเจน
3. กลุ่มออกไซด์ของกำมะถัน
4. โอโซน
5. กลุ่มสารกัมมันตรังสี
แนวทางแก้ไขปัญหามลพิษในอากาศ
1. การใช้มาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบ
2. การกำหนดเขตการใช้ที่ดิน
3. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตและเชื้อเพลิง
4. การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ควบคุมและกำจัดสารมลพิษ
5. การให้การศึกษาและการประชาสัมพันธ์

ค่านิยมน้ำดื่มกับภาวะขาดแคลน ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับน้ำ

ค่านิยมน้ำดื่มกับภาวะขาดแคลน ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับน้ำ
น้ำเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิตมนุษย์ผูกพันกับน้ำนับตั้งแต่เกิดจนตายมักมีคำกล่าวถึงน้ำว่าเป็นบ่อเกิด
แห่งชีวิต ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำถึง 2 ใน 3 ส่วน สามารถแทรกผ่านสู่ส่วนผิวหนัง โพรงกระดูก หรือแม้
แต่เส้นโลหิตดำหรือโลหิตแดง ซึ่งแต่ละปีปริมาณน้ำผ่านสู่ร่างกายมนุษย์ถึง เกือบ 1 ตัน "น้ำ" เป็นสารสำคัญในกระบวนการๆ ในร่างกายมนุษย์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะ และปรับ
อุณหภูมิในร่างกาย หากร่างกายขาดน้ำคงมีชีวิตอยู่ไม่ได้ วันหนึ่งๆ ร่างกายต้องสูญเสียน้ำไปโดยขับออกทางปอด
ผิวหนัง อุจจาระและปัสสาวะ ดังนั้นจึงต้องได้รับน้ำมาชดเชยประมาณวันและ 2,000-2,400 มิลลิลิตร อย่างไร
ก็ตามน้ำที่นำมาบริโภคควรเป็นน้ำที่สะอาดเท่านั้น ในยุคโลกาภิวัฒน์ โลกพัฒนาอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหามลภาวะในทุกด้านจนยากที่จะควบคุมให้อยู่
ในสภาวะสมดุลย์ตามธรรมชาติ มลภาวะของน้ำเสียและพิษภัยจากมลภาวะดังกล่าวคุกคามต่อสุขภาพของ
มนุษยชาติโดยรวมเป็นปัญหาระดับโลก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมาสารเคมีชนิดใหม่ๆ เป็นจำนวน
หมื่นๆ ตันได้ถูกทิ้งลงไปในแหล่งน้ำและน้ำเหล่านี้ได้ถูกหมุนเวียนกลับมาใช้บริโภคในทุกแถบของโลก ความมหัศจรรย์ของน้ำ น้ำเป็นสสารที่มหัศจรรย์ที่สุดในโลก คุณสมบัติพิเศษเป็นสสารชนิดเดียวในโลก
ที่ปรากฏตามธรรมชาติพร้อมกันทั้ง 3 สถานะ คือ ของเหลว ของแข็ง และก๊าซ ไม่มีขนาด ไม่มีรูปร่างเฉพาะ
แปรเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ มีความสมดุลย์ในตัวเอง คุณสมบัติพิเศษของน้ำในการกลายสถานที่เด่น
อีกอย่างหนึ่ง คือการกลายสถานะเป็นของแข็งขณะที่อุณหภูมิลดลงเรื่อยๆ น้ำจะหดตัวและมีความหนาแน่น
มากขึ้น จนถึงอุณหภูมิ 4 ซ. น้ำจะเริ่มขยายตัว และแข็งตัวที่ 0 ซ. โดยมีความหนาแน่นน้อยกว่างน้ำ ก้อน
น้ำแข็งลอยอยู่เหนือน้ำ และมีจุดเดือดที่ 100 ซ. ดังนั้นการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำไปใช้จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจ
และประสบการณ์เฉพาะงานด้านน้ำอย่างแท้จริง

วัฏจักรของน้ำ (Water Cycle)
น้ำที่อยู่บนพื้นผิวโลกไม่ว่าน้ำเค็มหรือน้ำจืด ก็ตาม จะระเหยกลายเป็นไอน้ำไปอยู่ในอากาศเป็นเมฆ
และตกลงมาเป็นฝนสู่พื้นโลกอีก และเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ปรากฏการณ์หรือระบบหมุนเวียนนี้ เรียกว่า
"วัฏจักรของน้ำ" ส่วนประกอบของวัฏจักรของน้ำสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. น้ำจากผิวโลกสู่บรรยากาศ ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้พื้นผิวน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น ทะเล
มหาสมุทร แม่น้ำลำคลอง ฯลฯ ระเหยกลายเป็นไอไปสู่บรรยากาศ ต้นไม้ต่างๆ หายใจคายไอน้ำออกมาทางใบ
ไอน้ำเหล่านี้อยู่ในอากาศ ถูกลมพัดไปมาและจะเกิดการสะสมเป็นเมฆ ลอยอยู่ในอากาศ 2. ไอน้ำในบรรยากาศเกิดการควบแน่น ไอน้ำในก้อนเมฆ เมื่อกระทบกับอากาศที่เย็นกว่าจะกลั่นตัว
กลายเป็นละอองน้ำ หรือหยดน้ำที่เล็กมาก ซึ่งสามารถรู้ได้โดยการมองเห็นก้อนเมฆสีดำ ๆ หรือก้อนฝนนั่นเอง
ขบวนการนี้เรียกว่า "การควบแน่น" 3. ฝนตกลงสู่พื้นโลก หากเกิดการควบแน่นมากขึ้นจะมีหยดน้ำขนาดใหญ่ขึ้น และตกลงเป็นฝนในที่สุด
หากในอากาศมีฝุ่นละอองอยู่มาก หรือมีแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์อยู่ โดยเฉพาะบริเวณโรงงานอุตสาหกรรม
ฝนจะชะเอาสิ่งสกปรกเหล่านี้ลงมาด้วย ทำให้น้ำฝนที่ตกมาใหม่ๆ สกปรก กรณีที่มีแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์
น้ำฝนจะทำปฏิกิริยากัลแก๊สดังกล่าว กลายเป็นกรดกำมะถัน ตกลงมาสู่พื้นโลก ซึ่งน้ำฝนนี้มักเรียกว่า "ฝนกรด"
(Acid Rain) มีอำนาจในการกัดกร่อนโลหะ รูปปั้นต่างๆ ที่ก่อสร้างในที่โล่งทำให้เกิดการเสียหายได้ 4. ซึมลงสู่ดินและสะสมเป็นแหล่งน้ำบนดิน เมื่อฝนตกลงสู่พื้นโลก น้ำฝนจะไหลนองไปตามพื้นดิน
ไหลผ่านพื้นที่ต่าง ๆ และจะชะเอาสิ่งสกปรกบนดินไปกับน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำไปสะสมในแม่น้ำ ลำคลอง หรือไหล
ลงทะเล น้ำฝนอีกส่วนหนึ่ง จะซึมลงสู่ใต้ดินกลายเป็นเป็นน้ำใต้ดินขึ้น น้ำที่ซึมอยู่บิรเวณชั้นดินตอนบนจะถูก
พืชดูดเอาไปเลี้ยงลำต้น หรือถูกดวงอาทิตย์เผาให้กลายเป็นไอสู่อากาศอีกและจะวนอยู่เช่นนี้ตลอดไป จากวัฏจักรของน้ำ หากถือพื้นดินเป็นหลักก็จะสามารถแบ่งประเภทของแหล่งน้ำเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ
คือส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินจะเรียกว่า "น้ำใบรรยากาศ" ซึ่งหมายถึงฝน หิมะ ลูกเห็บ เป็นต้น ส่วนอยู่บนดิน
จะเรียกว่า "น้ำผิวดิน" เช่น แม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ และส่วนที่อยู่ใต้ดินเรียกว่า "น้ำใต้ดิน" เช่น
น้ำบาดาล น้ำพุ เป็นต้น แหล่งน้ำทั้ง 3 ชนิดนี้มีคุณภาพและปริมาณแตก่างกันบางชนิดสามารถนำมาผลิตน้ำบริโภคได้เพราะมี
ปริมาณมากพอ และคุณภาพที่สามารถบำบัดได้ เช่นน้ำบาดาล บางชนิดก็ไม่สามารถนำมาผลิตน้ำบริโภคได้
เช่นแหล่งน้ำที่มีสารละลายฟลูออไรด์ (Fluoride F) เพราะมีขบวนการในการบำบัดยุ่งยาก เสียค่าใช้จ่ายมาก
ไม่คุ้มในเชิงการค้า มาตฐานน้ำบริโภคกำหนดไม่เกิน 1.5 พี.พี. เอ็ม น้ำในบรรยากาศ ได้แก่น้ำฝน น้ำค้างเป็นต้นน้ำประเภทนี้โดยทั่วไปจัดเป็นน้ำสะอาดที่เหมาะในการบริโภค
แต่คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนไปตามปัจจัยต่างๆ เช่นฝุ่นและอองและก๊าซในชั้นบรรยากกาศความสะอาดของพื้นที่
รองรับน้ำฝน หลังคาบ้าน และภาชนะสำหรับเก็บน้ำฝน น้ำผิวดิน (Surface Water) น้ำผิวดิน หมายถึงน้ำที่สะอาดที่สะสมอยู่บนพื้นดินเกิดจากส่วนของน้ำฝนที่
ตกลงดินแล้วไหลลงสู่แม่น้ำลำธาร ในประเทศหนาวที่มีหิมะตก น้ำผิวดินก็เกิดจากการละลายของหิมะแล้วไหล
ลงสู่ลำธารแม่น้ำด้วย นอกจากนี้แหล่งที่มาของน้ำผิวดินอีกทางหนึ่ง คือมาจากน้ำบาดาล หากน้ำผิวดินมีแหล่งที่
มาจากน้ำฝนและหิมะเพียง 2 ทางนี้เท่านั้น น้ำที่ไหลอยู่ในแม่น้ำลำคลองคงจะแห้งไปนานแล้วหลังจากฝนตก
สักระยะหนึ่งอย่างไรก็ตามที่ยังคงเห็นนำไหลอยู่ได้ตลอดปีนั้น เนื่องมาจากน้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดินไหลซึมออก
มาสู่ลำธาร แสดงให้เห็นถึงการที่น้ำใต้ดินไหลออกมาสู่น้ำในแม่น้ำ เนื่องจากระดับน้ำใต้ดินอยู่สูงหากน้ำใต้ดิน
อยู่ต่ำ น้ำจากแม่น้ำลำธารบางส่วนก็จะไหลซึมลงสู่ใต้ดินเหมือนกัน น้ำใต้ดิน (Ground Water) น้ำฝนที่ตกลงมายังพื้นดินบางส่วนจะถูกพืชดูดไว้ บางส่วนไหลลงสู่แม่น้ำ
ลำธารหรือทะเลเป็นน้ำผิวดิน บางส่วนไหลซึมลงไปใต้ดินจะซึมผ่านชั้นต่าง ๆ ของดินชะเอาแร่ธาตุและมลทิน
ในแม่น้ำ จนถึงชั้นดินซึ่งน้ำซึมผ่านไม่ได้ น้ำที่ขังอยู่บนชั้นดินนี้เรียกว่า น้ำใต้ดิน น้ำใต้ดินนั้นบางทีก็อยู่ตื้น
บางทีก็อยู่ลึกทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ และระดับน้ำใต้ดิน ในแถบนั้นจะอยู่ตื้นหรือลึก
ถ้าหากเจาะบ่อลงไปให้ลึกถึงระดับน้ำในชั้นน้ำที่เรียกว่า น้ำบาดาลในที่กักขังจริง ๆ แล้วก็สามารถมีน้ำใช้ได้
ตลอดปี นอกเสียจากว่าบ่อที่เจาะลงไปนั้นพบว่าน้ำในชั้นน้ำบาดาลปลอม ซึ่งเป็นน้ำขังอยู่ในชั้นหินที่อยู่ใต้ดิน
ของโซนสัมผัสอากาศ บ่อบาดาลปราศจากความดัน น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำที่ถูกกักเก็บอยู่ในบริเวณอิ่มตัวด้วยน้ำมีระดับผิวบนอยู่ที่
ระดับน้ำใต้ดิน การไหลก็เป็นไปตามความสูงของระดับน้ำใต้ดินภายใต้แรงดึงดูดของโลกไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพล
ของความกดดันใดๆ ทั้งสิ้น บ่อบาดาลภายใต้แรงดัน น้ำบาดาลในบ่อประเภทนี้ เป็นน้ำที่ถูกเก็บในชั้นหินอุ้มน้ำ ซึ่งวางตัวอยู่ระหว่าง
ชั้นหินเนื้อแน่นที่คล้ายผนังท่อน้ำ น้ำชนิดนี้จะอยู่ภายใต้ความกดดันอันเนื่องมาจากน้ำหนักของชั้นหินที่กดทับ
และน้ำหนักของน้ำในระหว่างชั้นหินด้วยกันแต่อยู่ระดับ Hydrostatic Pessure กัน หินอุ้มน้ำซึ่งเป็นที่เก็บน้ำ
บาดาลนี้จะมีการวางตัวอยู่ในแนวราบหรือเอียงก็ได้ ส่วนใหญ่จะวางอยู่ในแนวเอียงลาด ฉะนั้นจึงปรากฏว่า
ชั้นน้ำที่เอียงนี้ อาจโผล่ขึ้นให้เห็นที่ผิวดิน เชิงเขา ริมเขา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางธรณีวิทยาของชั้นหิน
ด้วยบริเวณที่ชั้นน้ำโผล่ขึ้นสู่ผิวดินเรียกว่า "ปากทางน้ำเข้า" เพราะน้ำฝนหรือน้ำจากแม่น้ำลำธารมีโอกาส
ไหลเข้าสู่ชั้นน้ำโดยตรง น้ำบาดาลประเภทนี้ถูกกับเก็บอยู่ภายใต้ความกดดัน ฉะนั้นเมื่อเราเจาะบ่อบาดาลลงไปถึงชั้นน้ำประเภทนี้
แรงดันจะดันได้ระดับน้ำขึ้นมาอยู่เหนือระดับผิวชั้นหินอุ้มน้ำ ความสูงของระดับน้ำที่ขึ้นมานี้ตามทฤษฎีจะสูง
กว่าระดับน้ำในชั้นเดียวกัน ซึ่งอยู่บริเวณปากทางน้ำเข้าแต่โดยปกติมักมีความต้านทางของหินต่อการไหล
ของน้ำ ทำให้ความสูงของน้ำในบ่อต่ำกว่าระดับทางทฤษฎีเล็กน้อย ฉะนั้นถ้าปากทางน้ำเข้าอยู่บนภูเขาและ
บริเวณเจาะบ่ออยู่ในที่ราบหรือหุบเขา ระดับน้ำในบ่อก็จะสูงขึ้นเกือบเท่าความสูงของภูเขา ในกรณีนี้น้ำจาก
บ่อจะไหลขึ้นพ้นผิวดินกลายเป็นน้ำพุที่เรียกว่า "น้ำพุบาดาล" ผิวระดับน้ำในบ่อเจาะในชั้นหินอุ้มน้ำกักขัง
ไม่ว่าจะอยู่เหนือผิวดินหรือต่ำกว่าผิวดิน เรียกว่า "ผิวเขตความดัน" การเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของปริมาณน้ำ
ในชั้นนี้เหมือนน้ำบาดาลประเภทแรก แต่มีสาเหตุเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความดัน น้ำใต้ดิน เช่นน้ำบาดาล น้ำพุคุณภาพของน้ำประเภทนี้ทางจุลินทรีย์และทางฟิสิกส์มักไม่ค่อยมีปัญหา
แต่ทางด้านเคมีมักจะพบว่ามีปัญหาของแร่ธาตุต่างๆ ปนเปื้อนอยู่ ปัญหาที่พบจากน้ำธรรมชาติที่ไม่สามารถนำมาบริโภคโดยตรงได้เนื่องมาจากการปนเปื้อนซึ่งอยู่ในน้ำ
และไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
• 1. สารปนเปื้อนทางเคมีและกายภาพ ได้แก่แร่ธาตุต่างๆ ความกระด้าง ความเป็นกรดด่าง
• 2. สารปนเปื้อนทางชีวภาพ (จุลินทรีย์) ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา ตะไคร่ เป็นต้น
สารปนเปื้อนทางเคมและกายภาพที่ปรากฏในแหล่งน้ำธรรมชาติจำแนกได้ดังนี้
1. น้ำผิวดิน ปัญหาที่พบเป็นประจำคือ ความขุ่น ซึ่งจะพบเป็นส่วนใหญ่ ปริมาณสนิทเหล็กสูง ทำให้น้ำมี
สีแดงไม่น่าไว้ไจ กลิ่นและสีจากน้ำ ซึ่งปัจจุบันจะพบมากขึ้นอันเนื่องมาจากของเสียที่โรงงาน บ้านเรือน ทิ้งลงไป
ที่แม่น้ำลำคลอง ความกร่อย จะพบตามแม่น้ำลำคลองที่น้ำทะเลหนุนขึ้นมาถึง ความกระด้าง ซึ่งเมื่อเอาไปต้มจะ
เกิดตะกรันจับที่ภาชนะ
2. น้ำใต้ดิน ปัญหาที่พบเป็นประจำคือ ปริมาณสนิมเหล็กสูง ความกร่อย ความขุ่น กลิ่นและสีของน้ำ ความ
กระด้าง
แนวทางการกำจัดสารปนเปื้อนในน้ำ
1. การกรองด้วยทราย กรวด หินจะสามารถกรองความขุ่น สารแขวนลอย โคลนออกได้หากความขุ่นมีมาก
อาจจะใช้สารส้มเป็นตัวเร่งให้ตกตะกอนเร็วขึ้นก่อนกรอง
2. กลิ่น สีและน้ำมัน ใช้เครื่องกรองที่บรรจุสารกรอง Activated Carbon สารคาร์บอนจะทำหน้าที่กำจัดกลิ่น
สีและน้ำมันออกไปจากน้ำ
3. ความกระด้าง ความกระด้างของน้ำเกิดจากน้ำมีปริมาณแคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยม (Ca, Mg) สูงกว่าปกติ
ซึ่งทำให้ฟองสบู่ไม่เป็นฟอง เกิดตะกรันที่กาน้ำ หม้อทำน้ำร้อนเครื่องกำเนิดไอน้ำ ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้
ด้วยการใช้เครื่องกรองความกระด้าง (Softener) ซึ่งใช้สารกรอง Cation Resin เป็นตัวกำจัดความกระด้างออกจากน้ำ
ความกระด้างของน้ำ อาจแบ่งเป็นชนิด ๆ ได้ดังนี้
• เมื่อน้ำมีความกระด้าง 0-75 ppm เรียกว่า น้ำอ่อน
• เมื่อน้ำมีความกระด้าง 75-150 ppm เรียกว่า น้ำกระด้างปานกลาง
• เมื่อน้ำมีความกระด้าง 150-300 ppm เรียกว่า น้ำกระด้าง
• เมื่อน้ำมีความกระด้าง 300 ppm ขึ้นไป เรียกว่า น้ำกระด้างมาก
3. ความกร่อย ความกร่อยของน้ำเกิดจากน้ำมีปริมาณเกลือ (NaCi) สูงถ้าปริมาณไม่มากสามารถกำจัดออก
ด้วยใช้ระบบ Deionzer แต่ถ้าปริมาณ NaCi สูงมากๆ ต้องกำจัดออกด้วยเครื่อง Reverse Osmosis
4. สนิมเหล็ก มีหลายวิธี เช่น AERATION คือการเติมออกซิเจนให้กับน้ำเพื่อให้เกิดเป็นสารเหล็กตะกอน
สามารถกรองได้ , ION EXCHANGE โดยการแลกเปลี่ยนอิออนของเหล็กและแมงกานีสกับสารกรองสนิมเหล็ก
เช่น ARICDORB , MANGANESE GREEN SAND เป็นต้น เหล็ก (Fe) และแมงกานีส (Mn) จะถูก
ออกซิไดส์ด้วยออกไซด์ของ MANGANESE GREEN SAND และตกตะกอน
สารปนเปื้อนทางชีวภาพอีกพวกหนึ่ง คือเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และตะไคร่ เป็นต้น แบคทีเรียชนิดเป็นพิษ
ที่พบในน้ำบริโภคไม่สะอาดเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคต่างๆ ดังนี้ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคท้องร่วง โรคลำไส้
อักเสบ โรคไทฟอยด์ โรคอหิวาต์ โรคบิด โรคตับอักเสบ การกำจัดเชื้อโรคทำได้ 2 วิธีคือ การกรองเชื้อโรคและ
การฆ่าเชื้อโรค
ระบบการกรองและฆ่าเชื้อในขบวนการผลิตน้ำบริโภคเพื่อจำหน่ายนั้น มีความสำคัญมากระบบหนึ่ง เพราะ
เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้บริโภคโดยตรง ผู้ผลิตน้ำบริโภคเพื่อจำหน่าย ควรจะเข้มงวดในจุดนี้ด้วย
1.การกรองเชื้อโรค เชื้อโรคจะมีขนาดตั้งแต่ประมาณ 30 ไมครอนลงไปจนถึงประมาณ 0.2 ไมครอน
ดังนั้น ในการกรองเชื้อโรคให้ได้ผลสมบรูณ์ต้องกรองด้วยแผ่นกรอง หรือไส้กรองที่กรองได้ละเอียดถึง 0.2 ไมครอน
แต่ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปไม่ได้ ในการผลิตน้ำบริโภคจำหน่ายเพราะต้นทุนจะสูงมาก ในการปฏิบัติแล้วจะใช้ไส้
กรองเซรามิคซึ่งมีขนาดความละเอียดในการกรองตั้งแต่ 1-0.3 ไมครอนซึ่งไส้กรองชนิดนี้หากผสมสาร silver ลงไป
ด้วยจะยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ไส้เซรามิค
1. ทำให้น้ำใสไม่มีตะกอนตกนอนก้นที่ขวดบรรจุแม้ว่าจะตั้งขวดทิ้งไว้นาน ๆ ก็ตาม
2.กรองเชื้อโรคออกจากน้ำ
3. กรอง SPORE OF FUNGI ตะไคร่ออกจากน้ำ
2. การฆ่าเชื้อโรค
การฆ่าเชื้อโรคในน้ำ มีหลายวิธี เช่น
1. ต้มน้ำให้เดือด
2. ฆ่าเชื้อด้วยแสงอุลตร้าไวโอเลต
3. ฆ่าเชื้อด้วยโอโซน
4. ฆ่าเชื้อด้วยการใช้ผงคลอรีนหรือแก๊สคลอรีน
โครงการค้าน้ำ
แผนการส่งออกน้ำสะอาด จากทะเลสาบสุพีเรียของรัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ก่อให้เกิดกระแสคัดค้าน
มากมาย โครงการนี้ เป็นการอนุมัติจากทางรัฐให้กลุ่มโนวา (NOVA GROUP) ดูดน้ำปริมาณ 600 ล้านลิตรต่อปีจาก
ทะเลสาบดังกล่าวส่งออกให้แก่ประเทศในทวีปเอเชียที่ประสบภาวะขาดแคลนน้ำ กลุ่มโนวากล่าวว่า โครงการนี้เป็นไป
เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ขาดแคลนน้ำในประเทศโลกที่สาม และช่วยเศรษฐกิจของรัฐออนตาริโอเหนือ กระแสต่อต้าน
โครงการมีมาจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนักการเมืองทั้งสองฟากของทะเลสาบคือ แคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดย
เกรงว่า โครงการนี้จะเป็นการนำไปสู่โครงการส่งออกน้ำขนาดใหญ่อีกหลายโครงการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะขาดแคลน
น้ำในสหรัฐอเมริกาได้ในอนาคต

แนะนำวิธีการใช้น้ำอย่างประหยัด
การแปรงฟัน
1. ควรใช้แก้วหรือขัน จะเสียน้ำเพียงครึ่งลิตร
2. ถ้าเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ขณะแปรงฟัน จะทำให้เสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ไป 9 ลิตร ต่อ 1 นาที หรือ 45 ลิตร
การโกนหนวด
1. เมื่อโกนหนวดแล้ว ควรให้กระดาษชำระเช็ดออกก่อน เพื่อให้ล้างออกง่ายขึ้น
2. จากนั้นควรใช้แก้วหรือขันและจุ่มล้างใบมีดในแก้วหรือขัน จะเสียน้ำเพียงครึ่งลิตร
3. ถ้าเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ขณะโกนหนวด 2 นาที จะเสียน้ำประมาณ 18 ลิตร
การอาบน้ำ
1. การอาบน้ำด้วยฝักบัว จะสิ้นเปลืองน้ำน้อยที่สุด
2. รูฝักบัวยิ่งเล็กยิ่งประหยัดน้ำ
3. อาบน้ำด้วยฝักบัวแต่ละครั้ง ใช้น้ำประมาณ 20-30 ลิตร
4. ถ้าเปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ขณะถูสบู่ 10 นาทีจะเสียน้ำประมาณ 90 ลิตร
5. ถ้าอาบน้ำในอ่าง จะใช้น้ำประมาณ 110 ลิตร
การใช้ห้องสุขา
1. โถส้วมแบบตักราดจะสิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่าแบบชักโครกหลายเท่า
2. ถ้าใช้โถแบบชักโครก ก็ควรติดตั้งโถปัสสาวะแยกต่างหากไว้ด้วย
การซักผ้า
1. ถ้าซักผ้าด้วยมือ ควรแช่ผ้าไว้กับน้ำผงซักฟอกระยะหนึ่งก่อนจะทำการซัก จะทำให้สิ่งสกปรกออกง่ายขึ้น
2. การซักล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 2 ครั้ง จะใช้น้ำประมาณ 40 ลิตร
3. ถ้าเปิดน้ำให้ไหลล้นตลอดเวลา จะเปลืองน้ำมากถึง 9 ลิตรต่อนาที รหือ 180 ลิตร หากใช้เวลาซัก 20 นาที
4. ถ้าซักด้วยเครื่องครั้งหนึ่ง จะใช้น้ำประมาณ 150-250 ลิตร
5. น้ำสุดท้ายของการซักสามารถนำไปเช็คถูบ้าน หรือรดน้ำต้นไม้ใหญ่ได้
การล้างจาน
1. ควรใช้กระดาษชำระเช็ดคราบสกปรกออกก่อน จะช่วยให้ล้างง่ายขึ้น
2. ควรล้างจานพร้อมกันในอ่างหรือภาชนะ เพื่อประหยัดเวลา และให้ความสะอาดมากกว่า
3. การล้างจากก๊อกโดยตรง ซึ่งจะสิ้นเปลืองน้ำถึง 9 ลิตรต่อนาที
4. ถ้าเปิดก๊อกน้ำตลอดเวลา 15 นาที จะเสียน้ำประมาณ 135 ลิตร
การล้างอาหาร ผัก ผลไม้
1. ควรล้างโดยใช้ภาชนะรองน้ำเท่าที่จำเป็นจะประหยัดกว่า
2. หากล้างจากก๊อกโดยตรง ก็ควรมีภาชนะที่เคลื่อนย้ายรองรับน้ำไว้รดน้ำต้นไม้ได้
การถูพื้น
1. ควรใช้ภาชนะรองน้ำ เพื่อใช้อุปกรณ์หรือผ้าที่จะนำไปเช็ดถู
2. การใช้น้ำฉีดล้างโดยตรง จะสิ้นเปลืองน้ำเป็นจำนวนมาก
การรดน้ำต้นไม้
1. ควรใช้กระป๋องหรือฝักบัว เพราะต้นไม้ส่วนใหญ่ต้องการน้ำพอดี ๆ เท่านั้น
2. ไม่ควรใช้สายยางโดยตรง จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำเกินความจำเป็น
3. ควรรดน้ำต้นไม้ในช่วงเช้า หรือเย็น
การล้างรถ
1. ควรใช้ไม้ขนไก่ลูบปัดฝุ่นออกก่อน
2. ควรล้างโดยนำน้ำใส่ถัง แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดถู ซึ่งจะใช้น้ำประมาณ 1-2 ถัง
3. ไม่ควรใช้สายยางฉีดล้างโดยตรง เพราะจะสิ้นเปลืองน้ำถึง 180 ลิตร และยังทำให้รถผุเร็วด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. ควรรดน้ำต้นไม้ สนามหญ้าให้น้อยลง หรือเปลี่ยนรูปแบบของสนามใหม่ ให้เป็นแบบไม่ใช้น้ำ เช่น ใช้ไม้และหินแต่งสนามแทนการปลูกหญ้า
2. ขุดบ่อน้ำ หากบ้านใดมีพื้นที่กว้าง ให้ขุดบ่อใกล้บริเวณที่คิดว่าจะมีน้ำซึมจากดินขึ้นมาไว้ใช้รดต้นไม้
3. จัดเตรียมหาภาชนะไว้เก็บกักตุนน้ำ สำรองไว้ใช้ให้ได้อย่างน้อย 1 วัน เพื่อป้องกันกรณีเกิดวิกฤตน้ำไม่ไหล
4. นำน้ำที่ใช้แล้ว เช่น น้ำสุดท้ายในการซักผ้า กลับมาใช้ในการถูบ้าน ล้างห้องน้ำ
5. สำรวจท่อรั่วภายในบ้าน ตรวจก๊อกน้ำและสุขภัณฑ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพการใช้งานได้ดี ไม่มีการรั่วไหล ป้องกันการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์
6. หมั่นตรวจสอบชักโครก ในบ้านของท่าน เนื่องจากเป็นสุขภัณฑ์ที่มีสถิติน้ำรั่วไหลมาก
ปริมาณน้ำที่สิ้นเปลืองเพราะรั่วไหล (1 ถัง = 200 ลิตร)
*หยดอย่างช้าๆ สม่ำเสมอ สูญเสียประมาณ 7 ถังต่อเดือน
*หยดเร็วๆ สูญเสียประมาณ 11 ถังต่อเดือน
*หยดเป็นสาย สูญเสียประมาณ 38-51 ถังต่อเดือน
*หยดเป็นสายมากขึ้น สูญเสียประมาณ 87 ถังต่อเดือน


ที่มา : http://members.fortunecity.com/ningnong1/top.htm

การบำบัดน้ำเสีย

การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"
จากการที่สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงเกิดเป็นภาวะมลพิษอันเกิดจากน้ำเน่าเสียที่มีอัตรา และปริมาณสูงขึ้นจนยากแก่การแก้ไขให้บรรเทา เบาบางและกลับมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ โดยทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัย สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วม กับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา"
การทดลองวิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ
• เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปใต้น้ำและกระจายฟองChaipattana Aerator, Model RX-1
• เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-3
• เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาเวนจูรี่" Chaipattana Aerator, Model RX-4
• เครื่องกลเติมอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาแอร์เจท"Chaipattana Aerator, Model RX-5
• เครื่องกลเติมอากาศแบบตีน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-6
• เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไปที่ใต้ผิวน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-7
• เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์ หรือ "ชัยพัฒนาไบโอ" Chaipattana Bio-Filter, Model RX-8 เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "น้ำพุชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-9
• เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-2
เครื่องกลเติมอากาศต่างๆนี้ได้นำมาติดตั้งใช้งานกับระบบบำบัดน้ำเสียตามสถานที่ต่างๆตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 และได้มีการปรับปรุงตลอดเวลาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะให้มีการบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกในการใช้งาน ประหยัดค่าใช้จ่าย และบำรุงรักษาได้ง่าย ตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน การดำเนินงานในขณะนี้ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ ทำให้น้ำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็นลงได้มากและมีปริมาณ ออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น บรรดาสัตว์น้ำ อาทิเต่า ตะพาบน้ำ และปลา สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนสามารถบำบัดความสกปรกในรูปของมลสารต่าง ๆ ให้ลดต่ำลง ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร้องขอให้มูลนิธิชัยพัฒนาเข้าไปช่วยเหลือในการบำบัด น้ำเสียอย่างเร่งด่วนเป็นจำนวนมากเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยนับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกใน ประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก" นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทรางวัล ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง
หลักการและวิธีการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำ ในแหล่งน้ำเสีย มีส่วนประกอบสำคัญคือ
• โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
• ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง รูซองน้ำพรุนเพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย
• ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ซึ่งทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำ วิดตักน้ำด้วย ความเร็ว สามารถวิดน้ำลึกลงไปจากใต้ผิวน้ำ ประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำสาดขึ้นไปกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำ ได้สูงถึง 1 เมตรทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากและส่งผลให้ออกซิเจนสามารถละลาย เข้าไปในน้ำ ได้อย่างรวดเร็ว
• ในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศ จมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ซองน้ำกำลัง เคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำภายใต้ผิวน้ำ จนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการ ถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น หลังจากนั้นน้ำที่ได้รับการเติมอากาศแล้วจะเกิดการถ่ายเทของน้ำเคลื่อนที่ออกไปด้วยการผลักดันของซองน้ำ รวมทั้งการโยกตัว ของทุ่นลอยในขณะทำงานสามารถผลักดันน้ำให้เคลื่อนที่ผสมผสานออกซิเจนเข้ากับน้ำในระดับ ความลึกใต้ผิวน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย จึงก่อให้เกิดกระบวนการ ทั้งการเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสาน และการทำให้เกิดการไหลของน้ำเสียไปตามทิศทางที่กำหนดโดยพร้อมกัน เครื่องกลนี้สามารถที่จะบำบัดน้ำเสียที่มี ความสกปรก (BOD) 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้วันละ 600 ลูกบาศก์เมตร ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD ได้สูงกว่า 90 เปอร์เซนต์ และสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายน้อยมาก โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงลูกบาศก์เมตรละ 96 สตางค์คิดเป็นจำนวนความสกปรกในหน่วยกิโลกรัม BOD เสียค่าใช้จ่าย 3.84 บาทเท่านั้น
บำบัดน้ำเสียโดยธรรมชาติ
หลักการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติแบบบ่อผึ่งหรือบ่อตกตะกอน และระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย (Oxidation Pond, Sedimental Pond and Lagoon Treatment)ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แหลมผักเบี้ย
พระราชดำริระบบบ่อบำบัดน้ำเสียและวัชพืชบำบัด (Lagoon Treatment and Grass Filtration)
โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นโครงการศึกษาวิจัย วิธีการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอยและการรักษาสภาพป่าชายเลนด้วยวิธีธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริที่มีสาระสำคัญสรุปได้ว่า ปัญหาภาวะมลพิษมีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนเป็นอย่างมาก สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ ชุมชนเมืองต่างๆ ยังขาดระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดีและมีประสิทธิภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสว่า
"...ปัญหาสำคัญคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ ศึกษามาแล้วเหมือนกันทำไม่ยากนัก ในทางเทคโนโลยีทำได้และในเมืองไทยเองก็ทำได้...ทำได้แต่ที่ที่ทำนั้นต้องมีที่สัก 5,000 ไร่... ขอให้ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ มาช่วย ร่วมกันทำ ทำได้แน่..."
จากการศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้นมาก่อนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนานมาแล้ว นี่เอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สำนักงาน กปร. และกรมชลประทานร่วมกัน ศึกษาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมกับสำรวจพื้นที่ดำเนินการพบว่าบริเวณ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,135 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ไม่มีปัญหาด้านเวนคืนที่ดินแต่อย่างใด เมื่อคณะทำงานนำผลการศึกษาในการจัดทำโครงการขึ้นกราบบังคมทูล ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย เห็นด้วยกับรูปแบบและแนวความคิดดังกล่าว สำนักงาน กปร. และกรมชลประทาน จึงร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ ฯ ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย และทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวได้ การสนองพระราชดำริในโครงการนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงาน กปร. กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมประมง เป็นต้น
1. เริ่มด้วยเทศบาลเมืองเพชรบุรี ดำเนินการสร้างท่อระบายรวบ รวมน้ำเสีย (Combine Waste Water System) ส่งน้ำเสียไปยังสถานีสูบน้ำเสียที่คลองยาง ที่จุดนี้จะทำหน้าที่เป็นบ่อดักขยะ เป็นบ่อตกตะกอนขั้นต้นที่สามารถลดค่าความสกปรกไปได้ถึง 40 %
2. ระบบการบำบัดน้ำเสีย มีการสูบน้ำเสียจากคลองยางส่งไปตามท่อเป็นระยะทางถึง 18 กิโลเมตร เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียที่ตำบลแหลมผักเบี้ย ซึ่งดำเนินการพร้อมกัน 2 ระบบ คือ ระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบกำจัดขยะ
ระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งออกเป็น
• ก. ระบบบำบัดหลัก ประกอบด้วย ระบบบำบัดน้ำเสีย (Lagoon Treatment) มีจำนวน 5 บ่อ ในพื้นที่ 95 ไร่ น้ำเสียจะไหลเข้าตามระบบน้ำล้น ดังนี้คือ - บ่อตกตะกอน (Sedimentation Pond) - บ่อบำบัด 1- 3 (Oxidation Pond) - บ่อปรับคุณภาพน้ำ (Polishing Pond) น้ำเสียจะไหลเข้าสู่บ่อตกตะกอนแล้วผ่านเข้าไปยังบ่อบำบัดที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับ แล้วไหลล้นเข้าสู่บ่อปรับคุณภาพน้ำเป็นขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะระบายลงสู่ป่าชายเลนซึ่งน้ำเสียขั้นสุดท้ายนี้จะได้รับการตรวจสอบคุณภาพน้ำจากคณะวิจัยอย่างใกล้ชิด

• ข. ระบบบำบัดรอง อยู่ระหว่างดำเนินการในพื้นที่ ประมาณ 60 ไร่ ประกอบด้วย - ระบบบึงชีวภาพ (Constructed Wetland) เป็นการดำเนินการโดยให้น้ำเสียผ่านบ่อดินตื้น ๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในบึงปลูกพืชที่มีรากพุ่งประเภทกกพันธุ์ต่าง ๆ และอ้อ เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านี้มีระบบรากแผ่กระจายยึดเกาะดิน และสามารถเจริญเติบโตดีในน้ำขังเสียน้ำเสียจะเริ่มจากต้นบึงไหลล้นผ่านพืชต่าง ๆ ไปท้ายบึงอย่างต่อเนื่องโดยพืชทั้งหลายจะช่วยดูดซับสารพิษและอินทรีย์สารให้ลดน้อยลง ตลอดจนทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้หมดไป - ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า (Grass Filtration) โดยการปล่อยน้ำเป็นระยะ (Bat Flow) ผ่านเข้าไปในแปลงหญ้ามีขนาดและลักษณะเหมือนระบบบึงชีวภาพ ระบบแปลงหญ้านี้จะรับน้ำจากบ่อปรับคุณภาพน้ำของระบบบ่อบำบัดน้ำเสียเข้าไปขังในแปลงหญ้าเป็นระยะ ๆ นานครั้งละ 1-2 สัปดาห์ กระทั่งน้ำมีความสะอาดดียิ่งขึ้น - ระบบกรองน้ำเสียด้วยป่าชายเลน (White and RedMangrove) น้ำเสียจะได้รับการบำบัดผ่านเข้าไปในพื้นที่ 30 ไร่ ที่ทำการปลูกป่าชายเลน ซึ่งปลูกแบบคละผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งน้ำที่ผ่านป่าชายเลนนี้จะได้รับการบำบัดจนเป็นน้ำที่ดีตามมาตรฐานเช่นกัน การนี้นับเป็นแนวพระราชดำริที่เป็นแบบฉบับแก่ชุมชนทั้งหลายทั่วประเทศ ได้ดำเนินการเจริญรอยตามพระยุคลบาทโดยยึดการดำเนินงานที่แหลมผักเบี้ยเป็นต้นแบบ



หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจาง (Dilution)
ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ"น้ำดีไล่น้ำเสีย" โดยใช้หลักการตามธรรมชาติแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow)
การใช้น้ำคุณภาพดีมาช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสีย หรือที่เรียกกันว่า "น้ำดีไล่น้ำเสีย" นั้น ได้แก่ การใช้น้ำที่มีคุณ ภาพดีช่วยผลักดันน้ำเน่าเสียออกไป และช่วยให้น้ำเน่าเสียมีสภาพเจือจางลง ทั้งนี้โดยรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา หรือจากแหล่ง น้ำภายนอกส่งเข้าไปตามคลองต่าง ๆ เช่น คลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองแสนแสบ คลองเทเวศร์ หรือคลองบางลำภฯลฯ เป็นต้นซึ่งกระแสน้ำจะไหลแผ่กระจายขยายไปตามคลองซอยที่เชื่อมกับแม่น้ำ เจ้าพระยาอีกด้านหนึ่ง ดังนั้นเมื่อ การกำหนดวงรอบ เกี่ยวกับการไหลของน้ำไปตามคลองต่าง ๆ นับแต่ปากคลอง ที่น้ำไหลเข้าจนถึงปลายคลองที่น้ำไหลออกได้อย่างเหมาะสม โดยที่น้ำสามารถไหลเวียนไปตามลำคลองได้ตลอด แล้ว ย่อมสามารถเจือจางน้ำเน่าเสียและชักพาสิ่งโสโครกไปได้มาก ซึ่งจะเป็นวิธีการช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสียในคลอง ต่าง ๆ ตอนช่วงฤดูแล้งได้อย่างดี จากแนวพระราชดำริดังกล่าวข้างต้นนี้ จึงบังเกิดกรรมวิธีในการบำบัดน้ำเสีย 2 ประการ ตามแนวพระราชดำริ "น้ำดีไล่น้ำเสีย" คือ
• วิธีที่หนึ่ง ให้เปิดประตูอาคารควบคุมน้ำรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงจังหวะน้ำขึ้นและระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตอนระยะน้ำลง ซึ่งมีผลทำให้น้ำตามลำคลองมีโอกาสไหลถ่ายเทกันไปมามากขึ้นกว่าเดิม เกิดมีการหมุนเวียนของน้ำที่มีสภาพเน่าเสีย กลิ่นเหม็น กลายเป็นน้ำที่มีคุณภาพดีขึ้น
• วิธีที่สอง ให้ขุดลอกคลองเปรมประชากรพร้อมทั้งกำจัดวัชพืชเพื่อให้เป็นคลองสายหลักในการผันน้ำคุณภาพดีไปช่วยบรรเทาให้น้ำเสียเจือจางลงและให้ คลองเปรมประชากรตอนล่างเป็นคลองที่สามารถรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปช่วยบรรเทาน้ำเสียโดยส่งกระจายไปตามคลองต่าง ๆของกรุงเทพมหานคร ส่วนคลองเปรมประชากรตอนบนนั้น ให้หาวิธีรับน้ำเข้าคลองเป็นปริมาณมาก อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นจะได้สามารถกระจายน้ำเข้าสู่ ทุ่งบางไทร-บางปะอินเพื่อการเพาะปลูก และเพื่อให้คลองเปรมประชากรตอนบนมีลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำ เพื่อใช้ผลักดันน้ำเน่าเสียในคลองเปรมประชากรตอนล่างต่อไปได้
แนวพระราชดำริสองประการนี้ แสดงถึงพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวว่าทรงเชี่ยวชาญในด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง และเป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียอย่างง่าย ประหยัดพลังงาน และสามารถปฏิบัติได้ตลอดเวลาซึ่งแสดงถึงพระปรีชาสามารถอันสูงยิ่งในพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงทุ่มเทเพื่อความสุขของปวงชนทั้งหลาย
Source : http://www.sudyord.com/ecommerce/king-2002/ouddy-oud/project8.html
หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา (Filtration) ตามแนวทฤษฎีการ
พัฒนาอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ "บึงมักกะสัน"
บึงมักกะสันเป็นบึงขนาดใหญ่ที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งการรถไฟ แห่งประเทศไทยได้ขุดขึ้น ในปี พ.ศ. 2474 เพื่อใช้เป็นแหล่งระบายน้ำและรองรับ น้ำเสีย รวมทั้งน้ำมันเครื่องจากโรงงานรถไฟมักกะสัน ทำให้บึงมักกะสันตื้นเขิน จากการตกตะกอนของสารแขวนลอย กอปรกับรอบบึงมักกะสันมีชุมชนแออัด 3 ชุมชน รวม 729 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ต่างก็ถ่ายสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยลงสู่บึงมักกะสัน จนเกิด ปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและน้ำเน่าเสียกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคแห่งหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงภัยแห่งภาวะมลพิษนี้จึงได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 15 เมษายน และวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2528 ให้หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันปรับปรุงบึงมักกะสันเพื่อใช้ประโยชน์ในการช่วยระบายน้ำ และบรรเทาสภาพน้ำเสียในคลองสามเสน โดยใช้วิธีการในรูปแบบของ "เครื่องกรองน้ำ ธรรมชาติ" กล่าวคือ ให้มีการทดลองใช้ผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชที่ต้องการกำจัดอยู่แล้วนี้ มา ทำหน้าที่ดูดซับความโสโครก รวมทั้งสารพิษจากน้ำเน่าเสีย โดยทรงเน้นให้ทำ การปรับปรุง อย่างประหยัด และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมบึง
แนวพระราชดำรินั้นทรงให้ทำโครงการง่าย ๆ โดยสูบน้ำจากคลองสามเสนเข้าบึงทางหนึ่ง และสูบน้ำออกจากคลองสามเสนอีกทางหนึ่ง ระยะห่างกัน 100-200 เมตร หรือฝังท่อระบายน้ำออกทางระบายน้ำอโศก-ดินแดง โดยให้คงมีผักตบชวาอยู่ในบึงและทำการตกแต่งให้ดีไว้บริเวณกลางบึงเพื่อกรองน้ำเสียแต่ถ้าจำเป็นต้องเก็บผักตบชวาขึ้นบ้างเป็นครั้งคราวก็ให้นำไปใช้ประโยชน์ เช่นทำปุ๋ยหมักหรือเชื้อเพลิง แต่อย่านำ ไปทำอาหารสัตว์ เพราะมีธาตุโลหะหนัก หลักการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย "บึงมักกะสัน"ระบบบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสันเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติ ที่เรียกว่า ระบบ Oxidation Pondหรือ "ระบบสายลมและแสงแดด" ซึ่งจะมีบ่อดินที่มี ความลึก 0.5-2 เมตร สามารถให้แสงส่องลงไปได้ มีการใส่ผักตบชวาเพื่อเป็นตัวดูดซับ สารอาหารและโลหะหนักในน้ำเสียจากคลองสามเสน ซึ่งสามารถบำบัดน้ำเสียได้วันละ 30,000-100,000 ลูกบาศก์เมตร
การทำงานของระบบอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่าง พืชน้ำ ได้แก่ สาหร่าย หรือ อัลจี กับแบคทีเรีย โดยในเวลากลางวัน อัลจีซึ่งเป็น พืชน้ำสีเขียวจะทำการสังเคราะห์แสง โดยใช้คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในน้ำและแสงแดด อัลจีจะนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้สร้างเซลล์ใหม่ ส่วนออกซิเจนที่เป็นผลพลอยได้นั้น ก็จะถูกแบคที่เรียนำ ไปใช้ในการย่อยสลายน้ำเสีย ซึ่งผลของปฏิกิริยานี้จะได้ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการ ดำรงชีพของอัลจี ดังนั้น อัลจี และแบคทีเรียจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ โดยต่างพึ่งพาอาศัยกันและกัน การดำรงชีวิตในลักษณะนี้ เรียกว่าSymbiosis เนื่องจาก อัตราการเติมออกซิเจน ค่อนข้างต่ำ ดังนั้น การเจริญเติบโตของแบคทีเรียจึงถูกกำจัดด้วยปริมาณออกซิเจนเมื่อเป็นเช่นนี้อัตราเร็วของปฏิกิริยาของการ ทำลาย BOD จึงค่อนข้างช้า ระบบ Oxidation Pond
จึงต้องใช้บ่อที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากประสิทธิภาพของระบบบึงมักกะสันขึ้นอยู่กับ ปริมาณของออกซิเจนที่ได้จากการสังเคราะห์แล้ว ดังนั้น ในบึงต้องไม่ ปลูกผักตบชวามากเกินไป เพราะจะบดบังแสงแดดสำหรับผักตบชวานั้นก็จะทำหน้าที่ดูดซึมอาหารต่าง ๆ และโลหะหนักในน้ำ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผักตบชวามีการเจริญสูงสุด ในเวลาภายหลังการปลูก 16-17 สัปดาห์ จึงต้องดูแลระบบนี้โดยการเอาผักตบชวาออกทุก 10 สัปดาห์ ประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียของบึงมักกะสัน พบว่าสามารถลดค่า BOD ได้ระหว่าง 19-85% โดยเฉลี่ยได้ 51% มีประสิทธิภาพในการฟอกตัวด้านการ กำจัด Total Coliformแบคทีเรีย และ FeCA Coliform แบคทีเรียเฉลี่ย 90% และ 89% ตามลำดับ
การพัฒนาและปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสัน จากการที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการก่อสร้างทางด่วนมหานครขั้น 2 ระยะที่ 1 โดยมีแนวผ่านบึงมักกะสันและมีตอม่อโครงสร้างอยู่กลางบึง ทำให้น้ำในบึง ไม่ถูกแสงแดด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ใช้
เครื่องพ่นอากาศเข้าช่วย มูลนิธิชัยพัฒนาและกรุงเทพมหานครจึงรับสนองพระราชดำริ ในการปรับปรุงบึงมักกะสัน เพื่อให้สามารถฟอก น้ำในคลองสามเสนให้สะอาดขึ้น วันละ 260,000 ลูกบาศก์เมตร ด้วยการใช้เครื่องเติมอากาศแบบทุ่นลอย ผสมกับ การใช้ผักตบชวา ซึ่งสามารถบำบัดน้ำเสียได้เพิ่มจากเดิม10 เท่า โดยมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้จัดหา และติดตั้งเครื่องเติมอากาศ ขนาด 11 KW จำนวน 10 เครื่องและกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการขุดลอกบึง พร้อมทั้งติดตั้ง เครื่องสูบน้ำและปลูกผักตบชวา

สำหรับน้ำที่ใสสะอาดขึ้นนี้ให้ระบายออกสู่ คลองธรรมชาติ ตามเดิม แล้วรับน้ำเสียจำนวนใหม่มาดำเนินการผ่านกรรมวิธีเป็นวงจร เช่นนี้ตลอดไปในอนาคตเมื่อการกำจัดน้ำเน่าเสียด้วยผักตบชวาในบึงมักกะสันแห่งนี้ ได้ผลดี ก็จะได้นำไป ใช้เป็น แบบอย่างในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียที่แหล่งน้ำ หรือลำคลองอื่นต่อไปซึ่งในขณะนี้กรุงเทพมหานครและการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นหน่วยงานหลักในการใช้ประโยชน์ และดูแลรักษาบึงแห่งนี้ให้คงมีสภาพที่ดีสืบไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปรียบเทียบว่า "บึงมักกะสัน" เป็นเสมือนดั่ง "ไตธรรมชาติ" ของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นแหล่งเก็บกักและระบายน้ำในฤดูฝน นอกจากนี้ ยังมีผลพลอยได้หลายอย่างเช่น ปุ๋ย เชื้อเพลิง เยื่อสานจากผักตบชวาและการปลูกพืชน้ำอื่นๆ เช่น ผักบุ้ง เป็นต้น รวมทั้งการเลี้ยงปลาด้วย โดยมิได้มีพระราชประสงค์จะทำให้เป็น สวนสาธารณะแต่อย่างใด บึงมักกะสันจึงเป็นบึงที่สร้างภาวะแวดล้อมด้วยวิธีธรรมชาติ เรียบง่าย ประหยัด และที่สำคัญเป็น แหล่งค้นคว้าทดลองที่พระราชทานเพื่อปวงประชา จักได้มีสุขถ้วนทั่วหน้ากัน การพัฒนาบึงมักกะสันจึงนับเป็นความสำเร็จที่เกิดจาก พระปรีชาสามารถในเชิงวิชาการด้านนิเวศวิทยาและการแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษทางน้ำ ด้วย สายพระเนตรที่ยาวไกล จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง แก่ชาวไทยทั้งมวล

ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำ กับระบบการเติมอากาศ (Constructed Wetland and Air Transfer for Waste Water Treatment) ณ บริเวณ หนองสนม - หนองหาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน พระราชดำริให้ทำโครงการบำบัดน้ำเสีย โดยวิธีธรรมชาติผสม ผสานกับเทคโนโลยีแบบประหยัด กล่าวคือ จัดสร้างบ่อดัก สารแขวนลอย ปลูกต้นกกอียิปต์เพื่อใช้ดับกลิ่น และปลูกผักตบชวาเพื่อดูดสิ่งโสโครก และโลหะหนักต่อจากนั้นใช้กังหันน้ำชัยพัฒนาและแผงท่อเติมอากาศ ให้กับน้ำเสียตามความเหมาะสม
• ส่วนแรก เป็นการบำบัดน้ำเสียด้วยกกอียิปต์ ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณสมบัติช่วยดูดมลสารต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ ในน้ำเสียให้ลดลงโดยใช้ลานกรองกรวดเบื้องต้นก่อนที่จะถึงบ่อปลูกกกอียิปต์ ให้ทำหน้าที่กรองสารแขวนลอย และช่วยเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสีย ตลอดจนช่วยให้เกิดจุลินทรีย์เกาะที่ก้อนกรวด ซึ่งส่งผลให้มีการย่อยสลายสาร อินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเสียให้ลดลงได้ นอกจากนี้ ทางด้านท้ายน้ำของกระบวนการบำบัดจะมีตะแกรงติดตั้งไว้ เพื่อรองรับเศษขยะที่ลอยปะปนมากับน้ำ ให้กักไว้ในด่านแรก จากนั้นน้ำเสียจึงจะผ่านเข้าไปในบ่อปลูกกกอียิปต์ ซึ่งสารอินทรีย์จะถูกกำจัดให้ลดลงแล้วจึงไหล เข้าสู่บ่อตกตะกอนตามธรรมชาติ
• ส่วนที่สอง เป็นการใช้ระบบบำบัดน้ำเสีย ด้วยบ่อเติมอากาศ โดยใช้กังหันน้ำชัยพัฒนาเข้าช่วยเติมออกซิเจนในน้ำเพื่อให้ทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย ซึ่งตกตะกอนได้ยาก ให้กลายเป็นตะกอน จุลินทรีย์ที่มีน้ำหนัก (Sludge) ที่สามารถตกตะกอนได้รวดเร็ว ในช่วงปลายของการบำบัดน้ำเสียก็ให้ผ่านไปยังบ่อปลูกผักตบชวา เพื่อช่วยลดสารพิษต่าง ๆ ที่ยังคงเหลืออยู่ แล้วส่งเข้าบ่อตกตะกอนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ได้น้ำที่ใสสะอาดยิ่งขึ้น
• ส่วนที่สาม ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำในหนองสนม โดยใช้เครื่องเติมอากาศ แบบกังหันน้ำชัยพัฒนา ติดตั้งไว้ที่ปากทางเข้าหนองสนม เพื่อเติมอากาศขั้นสุดท้าย นอกจากนี้ยังปลูกผักตบชวาโดยกั้นไว้เป็นคอกเรียงสลับกัน เป็นแถว ๆ เพื่อช่วยบำบัดน้ำเสียและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำทั้งระบบ หนองหาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้เร่งดำเนินการแก้ ไขปัญหาน้ำเสียที่ปล่อยลงหนองหาน โดยเร็ว โดยให้รวบรวมน้ำเสียที่ระบายลงหนองหานจากเขตเทศบาล ซึ่งระบายลงหนองหานมาไว้ ณ ที่เดียว แล้วให้จัดทำโครงการ บำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยีแบบประหยัด โดยกรมประมงได้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อผึ่ง Waste Water Stabilization Ponds ขึ้นในพื้นที่ 92 ไร่ โดยกรมโยธาธิการดำเนินการออกแบบและก่อสร้างท่อรับน้ำเสียเพื่อนำน้ำเสียเข้าไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสียของกรม ประมงและกรมชลประทานดำเนินการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ พร้อมทั้งออกแบบก่อสร้างระบบบำ บัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำ(Constructed Wetland for Waste Water Treatment) เพื่อใช้เป็นบ่อบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้าย (Polishing Pond) หลังจากผ่านระบบบำบัดน้ำเสียของกรมประมงแล้ว
ลักษณะของระบบ
1. เป็นระบบบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำในพื้นที่ 84.5 ไร่ และเชื่อมต่อกับระบบ บำบัดน้ำเสียของกรมประมง ระบบดังกล่าว จะแบ่งออกเป็น 4 เซลล์ แต่ละเซลล์ประกอบด้วยหนองน้ำตื้น (Marsh) สองด้าน ส่วนตรงกลางของ แต่ละ เซลล์จะเป็นบ่อ น้ำลึก (Pond)

2. บริเวณหนองน้ำตื้น (Marsh) มีความลึกของน้ำปกติอยู่ระหว่าง 10-20 ซม. ถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ในการลดค่า BOD ลดค่าของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids) ที่เกิดขึ้นจากสาหร่ายสีเขียว (Algae) กำจัดแบคทีเรียชนิด Faecal Coliform เปลี่ยนไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนีย และลดค่าฟอสฟอรัส ซึ่งพืชน้ำที่ใช้ปลูกเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว มีทั้งหมด 15 ชนิด

3. บริเวณบ่อลึก กำหนดให้มีความลึกของน้ำแต่ละบ่อ 1 เมตร ทำหน้าที่ในการ เปลี่ยนไนโตรเจนให้เป็นไนเตรท (Nitrification) และเปลี่ยนสารอาหารไนเตรทไปอยู่ในรูปของก๊าซไนโตรเจน (Dinitrification) รวมทั้งลดค่าฟอสฟอรัส ด้วยพืชน้ำ (Submersed Plant) ต่าง ๆ

4. หลังปลูกพืชน้ำไปแล้วประมาณ 3 เดือน ระบบบำบัดน้ำเสียดังกล่าวนี้จะ สามารถลดค่าความเน่าเสียของน้ำที่ปล่อยออกมาจากระบบบำบัดน้ำเสียของกรมประมง ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น และเมื่อพืชเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ ซึ่งจะใช้เว ลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ระบบนี้จะสามารถบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีอย่างสมบูรณ์แบบ



บำบัดน้ำเสียโดยธรรมชาติ
ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางฟิสิกส์เคมี (Physical - Chemical Process) ด้วยการ ทำให้ตกตะกอน (Presipitation) ตามพระราชดำริ "สารเร่งตกตะกอน PAC" (Poly Aluminum Chloride)
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ร่วมกับ มูลนิธิชัยพัฒนาและกรมชลประทาน ดำเนินการสนองพระราชดำริด้วยการประดิษฐ์เครื่องบำบัดน้ำเสียด้วยสารเคมี ที่สามารถบำบัดน้ำเสีย ให้มีสภาพดีขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องต้นแบบในการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมต่อไป ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย คณะกรรมการ มูลนิธิชัยพัฒนาไปทอดพระเนตรการทำงานของเครื่องบำบัดน้ำเสียโดย ใช้สารเร่งตกตะกอน ณ บริเวณสนามข้างอาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ซึ่งในวโรกาสนี้ได้พระราชทานชื่อ Model ของเครื่องบำบัด น้ำเสียนี้ว่า "TRX-1" และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการ ศึกษาวิจัย และพัฒนา สรุปได้ว่า
1. ควรดำเนินการศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการผลิตสาร PAC (Poly Aluminum Chloride) ขึ้นภายในประเทศเพื่อที่จะทำให้ต้นทุนในการบำบัดน้ำลดลง
2. ควรนำน้ำเสียประเภทต่าง ๆ และน้ำเสียจากคลองสามเสน คลองเปรมประชากร และคลองแสนแสบ มาทำการทดลองบำบัดโดยตรวจสอบคุณภาพน้ำทั้งก่อน และหลังบำบัด โดยเฉพาะเรื่องเชื้อโรคและสารตก ตะกอนจำพวกโลหะหนัก เพื่อที่จะนำตะกอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น ทำปุ๋ย เป็นต้น
3. คุณภาพน้ำภายหลังบำบัด อาจจะต้องผ่านกระบวนการเติมออกซิเจนอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เครื่องกลเติม อากาศเข้าไปด้วย โดยต่อท่อดูดอากาศผสมกันตรงบริเวณ ท่อน้ำไหลออกที่ผ่านการบำบัดแล้ว คุณสมบัติ เครื่องบำบัดน้ำเสียโดย ใช้สารเร่งตกตะกอน (PAC) เป็นเครื่องบำบัดน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง มีระบบการทำงานที่ไม่ยุ่งยากสามารถควบคุมการทำงานได้อย่างง่าย มีขนาดกระทัดรัด ทำให้สะดวกในการ เคลื่อนย้ายและติดตั้ง นอกจากนั้นยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง การเดินระบบและการบำรุงรักษาอีกด้วย
หลักการบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่อง PAC
1. ให้มลสารที่ผสมอยู่ในน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเกิดการตกตะกอน
2. กรณีที่มีมลสารขนาดเล็กเกิดการแขวนลอย และแพร่กระจายผสมอยู่ในน้ำ จนยากแก่การตกตะกอน ให้เติมสารเพื่อช่วยเร่งการตกตะกอนให้เร็วขึ้นโดย "สารช่วยเร่งการตกตะกอน" สารช่วยเร่งการตกตะกอนนี้มีอยู่หลายชนิด เช่น สารส้ม เฟอร์ริกคลอไรด์ เฟอร์ริกซัลเฟต โซเดียมอลูเมต และปูนขาว ซึ่งวิธีการนี้จำเป็นต้องใช้สารโซดาไฟช่วยปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง ของน้ำให้เหมาะสมด้วย แต่สารช่วยเร่งการตกตะกอนที่มีพัฒนาใหม่ล่าสุดนี้ เรียกว่า "โพลีอลูมินัมคลอไรด์" (Poly Aluminum Chloride) เรียกสั้น ๆ ว่า PAC
• ขั้นที่ 1 : น้ำเสียเข้าระบบขั้นต้น (Influent Discharge) โดยวิธีการปั๊มน้ำสูบส่งน้ำดิบให้ไหลผ่านเข้าเส้นท่อ พร้อมทั้ง ใช้ปั๊มเติมสารเร่งตกตะกอน (Dosing Pump) เข้าสู่เส้นท่อเพื่อผสมกับน้ำดิบในปริมาณที่เหมาะสม
• ขั้นที่ 2 : เข้าสู่ระบบกวนเร็ว (Rapid Mixer) เป็นขั้นตอนที่เกิดการผสมคลุกเคล้า กันอย่างรวดเร็วระหว่างน้ำดิบและสารเร่งตกตะกอนภายในท่อกวน เร็วที่ออกแบบ เป็นแผ่นเกลียว เพื่อบังคับน้ำที่มีความเร็วให้ไหลวนและปั่นป่วน (Turbulence) จนเกิดเป็นกระบวนการผสมระหว่างของเหลวทั้งสองชนิดได้อย่างรวดเร็ว และสมบูรณ์
• ขั้นที่ 3 : ผ่านไปยังระบบกวนน้ำ (Slow Mixer) ด้วยการลดความเร็วของน้ำ จากท่อกวนเร็ว เพื่อให้เกิดการรวมตัวของ อนุภาคสารแขวนลอย จนกลายเป็น กลุ่มก้อนขนาด ใหญ่ (Flock) แล้วจึงไหลออกจากถังกวนช้าผ่านแผ่นกั้นลดความเร็ว ของน้ำเป็นระยะต่อเนื่องกัน
• ขั้นที่ 4 : ระบบการตกตะกอน ด้วยการออกแบบรูปทรงถังตกตะกอนแบบทรงกลม (Sedimentation Tank) ซึ่งทำหน้าที่ทำให้กลุ่มก้อนของอนุภาคสารแขวนลอย ที่จับตัวกัน สามารถตกตะกอนลงสู่ก้นถังได้อย่างรวดเร็ว ส่วนน้ำใสที่ผ่านการตกตะกอนแล้วจะไหลล้นกระจายออกสู่ด้านบนตามเส้นรอบวง แล้วผ่านระบบการกรองตะกอนลอย ต่อจากนั้นจึงไหลลงสู่รูเจาะด้านล่างที่บังคับ ให้น้ำไหลเป็นฝอย เพื่อให้น้ำมีพื้นที่สัมผัสกับอากาศได้มากที่สุด อันเป็นการเติมอากาศให้กับน้ำขั้นสุดท้ายอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำเอา น้ำนี้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
การบำบัดน้ำเสียด้วย PAC นี้ ได้รับผลดีเป็นที่น่าพอใจยิ่ง ด้วยวิธีการขจัดน้ำขุ่น ได้ดีกว่าสารส้มถึง 3 เท่า และไม่เกิด ความเสียหายใดดังที่เกิดจากสารส้ม กอปรกับตกตะกอนได้รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายมาก จึงนับเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่สามารถ เข้ามามีบทบาทในกระบวนการ Recycle ที่สำคัญยิ่งที่จะนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ ได้อีกในอนาคต







โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2533 ให้ดำเนินการศึกษาหาวิธีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับขยะมูลฝอย และน้ำเสียตลอดจนการรักษาสภาพป่าชายเลนโดยวิธีธรรมชาติ
แผนการดำเนินงานสนองพระราชดำริ
ดำเนินการในรูปแบบโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อหาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย และการกำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีทางธรรมชาติ และศึกษาการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับการพัฒนาในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป โดยการดำเนินงานสามารถแบ่งออก
เป็น 3 ส่วน คือ
1. การบำบัดน้ำเสียจากชุมชน ประกอบด้วย การก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีขีดความสามารถบำบัดน้ำเสียได้สูงสุดวันละ 10,000 ลบ.ม. และการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 4 ระบบ ได้แก่
• - ระบบบ่อผึ่งบำบัดน้ำเสีย (Oxidation Pond)
• - ระบบหญ้ากรองบำบัดน้ำเสีย (Grass Filtration)
• - ระบบแปลงพืชน้ำบำบัด (Aquatic Plant Filtration)
• - แปลงป่าชายเลนบำบัดน้ำเสีย (Red and White Mangrove)
2. การกำจัดขยะมูลฝอย นำขยะมูลฝอยจากเขตเทศบางเมืองเพชรบุรี ไปศึกษาการกำจัดโดยใช้วิธีการที่เหมาะสม จนกระทั่งได้เป็นปุ๋ยหมัก
3. การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เป็นการนำปุ๋ยหมักที่ได้ไปถมที่ชายฝั่ง เพื่อปลูกป่าชายเลน รวมทั้งการดำเนินการในส่วนต่าง ๆ เช่น การนำน้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วไปใช้เพื่อการเกษตร นำต้นพืชในแปลงบำบัดน้ำเสียไปใช้ประโยชน์ อาทิ จักสาน อาหารสัตว์ และอื่น ๆ รวมทั้งการเลี้ยงปลาในระบบบำบัด เป็นต้น
Source : http://www.eng.chula.ac.th/~water/wreclub/r9_and_water.html






โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาวางโครงการและก่อสร้างระบบชลประทานตามลำน้ำสาขาต่าง ๆ ของแม่น้ำปิง ในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เพื่อจัดหาน้ำสำหรับการอุปโภค - บริโภค และการเกษตรให้แก่ ราษฎร พร้อมทั้งอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ให้ มีสภาพสมบูรณ์ ตลอดจนจัดสรรพื้นที่ป่าละเมาะให้ราษฎรทำการเกษตร
สถานที่ดำเนินการ อำ เภอจอมทอง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 279,501 ไร่ แบ่งเป็นเขตพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 107,791 ไร่ เป็นเขตไร่นา ชุมชน ประมาณ 171,710 ไร่ มีลักษณะเป็นเนินเขาและภูเขาสูงชันด้านตะวันออกโดยมีพื้นที่ราบและค่อนข้างราบบริเวณใกล้เคียงลำห้วยและริมฝั่งแม่น้ำปิง สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่ที่ทำการเกษตรเป็นป่าเสื่อมโทรม สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเสื่อมโทรม กึ่งป่าค่อนข้างสมบูรณ์จึงเหมาะสมที่จะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นป่าอุดมสมบูร?์เพื่อการอนุรักษ์ไว้เป็น พื้นที่ต้นน้ำลำธารต่อไป
การพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำ
ดำเนินการซ่อมแซมระบบท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำในเขตโครงการรวม 3 แห่ง พร้อมซ่อมแซมอาคารประกอบด้านท้ายฝาย บ้านห้วยปุ๊ จำนวน 1 แห่ง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร บริเวณลำห้วยแสง และห้วยคอควาย จำนวน 40 แห่ง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ 400 ไร่ - ก่อสร้างโรงสูบน้ำ บ่อบาดาล และระบบส่งน้ำบ้านโรงวัว บ้านห้วยหนองสูนรวม 2 แห่ง เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก 400 ไร่
ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำบ้านห้วยพัฒนา จำนวน 1 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ 300 ไร่
ขุดสระน้ำพร้อมอาคารประกอบบ้านห้วยส้ม จำนวน 2 แห่ง ความจุ 0.075 ล้านลูกบาศก์เมตรพื้นที่รับประโยชน์ 240 ไร่
ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยขะหมาหลวงพร้อมระบบส่งน้ำ ความยาว 1,250 เมตร ความจุ 0.440 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อแก้ไขการขาดแคลนน้ำ บริเวณแปลงจัดสรรที่ดินทำกินของราษฎร บ้านใหม่สารภี บ้านห้วยฝาง บ้านโรงวัว พื้นที่รับประโยชน์ 450 ไร่ ราษฎรจำนวน 90 ครอบครัว
ก่อสร้างระบบส่งน้ำฝั่งขวาอ่างเก็บน้ำห้วยสะแพทตอนบน จำนวน 1 แห่ง เพื่อส่งน้ำให้กับพื้นที่ เพาะปลูก 400 ไร่
Source : http://www.eng.chula.ac.th/~water/wreclub/r9_and_water.html